การบริการรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ให้บริการรักษาผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติด ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ดังนี้

1. ผู้ป่วยที่มาเองหรือญาตินำมาเรียกว่า ระบบสมัครใจ

2. ผู้ป่วยที่ส่งมารักษาตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545เรียกว่า ระบบบังคับบำบัด

ขั้นตอนการให้รับริการ

1. ผู้ป่วยที่มาเองหรือญาตินำมา(ระบบสมัครใจ) การบริการมี 2 รูปแบบ ดังนี้

1.1 แบบผู้ป่วยนอก เป็นการบำบัดรักษาทางกายและจิตสังคม ตามสภาพปัญหาและอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับการนัดมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดการรักษาหรือส่งต่อไปรับยาใกล้บ้าน ญาติควรมากับผู้ป่วยด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบำบัดและรับทราบแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้การบำบัดมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก

1.2 แบบผู้ป่วยใน เป็นการรับผู้ป่วยไว้บำบัดรักษาในโรงพยาบาลกรณีที่แพทย์พิจารณา ว่ามีความจำเป็นเนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาด้วยยาร่วมกับการบำบัดทางจิตสังคมแบบรายบุคคล และ รายกลุ่ม ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปอยู่ในชุมชนได้ โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการนัดเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่องแบบ ผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาล จนกว่าแพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยไปรับยาใกล้บ้านหรือสั่งหยุดการรักษา

เมื่อบำบัดครบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ประเมินจะได้รับการติดตามหลังการบำบัดรักษาฟื้นฟู จนครบ 1 ปี

 

2. ผู้ป่วยที่ส่งมารักษาตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 (ระบบบังคับบำบัด)

โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาฯ เป็นศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูฯ พ.ศ.2545 ให้บริการบำบัดรักษา ฟื้นฟูฯ แก่ผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดฯให้เข้ารับการฟื้นฟูฯ ในโรงพยาบาล การฟื้นฟูฯ มี 2 รูปแบบ คือ

2.1 ระบบบังคับบำบัด แบบไม่ควบคุมตัว ใช้หลักปฏิบัติเช่นเดียวกับการบำบัดแบบผู้ป่วยนอก(ระบบสมัครใจข้อ 1.1)

2.2 ระบบบังคับบำบัด แบบควบคุมตัว ไม่เข้มงวด/ผู้ป่วยใน เป็นการรับผู้ป่วยไว้ฟื้นฟูฯ ในโรงพยาบาลจนกว่าจะครบระยะเวลาตามโปรแกรมการฟื้นฟูฯ แบบกลุ่ม และ/หรือรายบุคคล โดยผู้ป่วยที่ถูกส่งมาทั้ง 2 กรณี โรงพยาบาลจะมีการรายงานผลการฟื้นฟูฯ แก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูฯ ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประกอบการพิจารณาผลการฟื้นฟูฯ ต่อไปแม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูฯ จนครบโปรแกรมฟื้นฟูฯ ของโรงพยาบาลแล้ว ถ้าแพทย์ยังคงนัดผู้ป่วยญาติควรนำผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปอยู่ในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆของสำนักงานคุมประพฤติ เช่น การรายงานตัวที่สำนักงานคุมประพฤติ ตามระยะเวลาให้ครบ จึงจะถือว่าครบกระบวนการฟื้นฟูฯ ตาม พรบ.จะพิจารณาผลการฟื้นฟูสำนักงานคุมประพฤติ เป็นที่พอใจ พร้อมออกใบบริสุทธิ์ให้

15 thoughts on “การบริการรักษาผู้ป่วยยาเสพติด

    • 3 กันยายน 2018 at 14:50
      Permalink

      แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านก่อนนะครับ ถ้ามีอาการทางจิตทางโรงพยาบาลก็จะส่งมารักษาต่อที่โรงพยาบาลจิตเวชเป็นลำดับต่อไปครับ

      Reply
    • 9 กันยายน 2018 at 10:57
      Permalink

      ปวดเมื่อยตามร่างกายและนึกอยากยาเป็นพักๆงุดงิดง่าย

      Reply
      • 10 กันยายน 2018 at 10:21
        Permalink

        แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านก่อนนะครับ ถ้ามีอาการติดยาเสพติดทางโรงพยาบาลจะส่งตัวมารักษาต่อเป็นลำดับต่อไป

        Reply
        • 12 กรกฎาคม 2020 at 21:40
          Permalink

          สอบถามหน่อยค่ะ พ่อติดเหล้าค่ะ จะพาไปบำบัดที่โรงพยาบาลได้ไหมค่ะ มีวิธีใหนบ่สงค่ะ

          Reply
          • 20 สิงหาคม 2020 at 11:55
            Permalink

            1.ระดับระยะภาวะติดสุรามีหลายระยะ การรักษาต่างกัน
            2.ความสำเร็จมีหลายปัจจัยที่จะส่งผล ให้รักษาได้สำเร็จ
            3.การรักษาภาวะติดสุรามีแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกขึ้นอยู่กับอาการแสดงต้องพบแพทย์ก่อนเสมอ
            4.บางท่านอาจไม่อยากรักษาในโณงพยาบาลจิตเวชนคราชสีมาหมายถึงว่าสามารถรักษาโรงพยาบาลอื่ๆ เช่นโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาหรือขอคำปรึกษาได้จากที่ต่างหรือ1323ฟรี
            5.ภาวะติดสุราบางรายไม่ต้องกินยาใช้การบำบัดโดยการพบผู้บำบัดหรือสหวิชาชีพ

  • 19 กรกฎาคม 2018 at 19:58
    Permalink

    เสียค่าบริการครั้งละเท่าไหร่ค้ะ ใข้สิทธิ์บัตรทองได้หรือเปล่า

    Reply
    • 20 กรกฎาคม 2018 at 08:29
      Permalink

      สามารถใช้บัตรทองได้ครับ

      Reply
  • 3 กันยายน 2018 at 09:57
    Permalink

    สามารถพาผู้ป่วยไปเลยได้ไม๊ค่ะ หรือมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

    Reply
    • 3 กันยายน 2018 at 14:22
      Permalink

      สามารถพามารักษาได้เลยนะครับ(ในวันและเวลาราชการ) ถ้าผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปสามารถเข้ามาอ่าน ขั้นตอนการรับบริการได้ https://jvkorat.go.th/th/?p=419 ถ้าผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 15ปีสามารถเข้ามาอ่านขั้นตอนการรับบริการได้ https://jvkorat.go.th/th/?p=415 นี้เลยนะครับ

      Reply
  • 7 ตุลาคม 2018 at 21:15
    Permalink

    กรณีติดสุรา ที่โรงบาลมีรักษาบำบัดหรือให้คำปรึกษาไหมค่ะ ..ขอบคุณค่ะ

    Reply
    • 8 ตุลาคม 2018 at 09:32
      Permalink

      สามารถเข้ามาเพื่อพบแพทธ์ให้คำปรึกษาหรือทำการบำบัดได้ครับ

      Reply
      • 28 กรกฎาคม 2020 at 22:53
        Permalink

        ผุ้ป่วยในสามารถมีเงินติดตัวได้มั้ยครับ

        Reply
        • 20 สิงหาคม 2020 at 15:45
          Permalink

          ไม่ต้องมีเงินติดตัวคะ เหตุผลจะไม่ได้ออกนอกบริเวณที่กำหนดไว้(หอผู้ป่วย)ให้ไปไหนหรือไปร้านค้า และผู้ป่วยไม่ได้จำเป็นต้องใช้เงิน มีอาหารให้ 3 มื้อ ตามที่โภชนาการจัดให้ครบถ้วน ยกเว้นหากญาติต้องการให้กินอย่างอื่นเพิ่มหอผู้ป่วย จะรับฝากของกินประเภทที่ไม่ต้องแช่เย็น เช่นนมกล่อง,ขนมแห้งๆ ผลไม้เก็บได้นานบสงชนิด และงดเครื่องดื่มทุกชนิด,น้ำเปล่ามีให้อยู่แล้ว อีกเหตุผลคือมีเงินเก็บติดตัวไว้พบว่าหายเพราะเสื้อผ้าไม่มีกระเป๋าเสื้อ เคยพบว่าญาติแอบให้เงินผู้ป่วยๆ ห่อมัดไว้ตามเสื้อผ้าแล้วพบว่าติดไปกับโรงซักผ้า ยกเว้นกรณีที่ไม่มีญาติผู้ป่วยที่ตำรวจนำส่งแล้วหมอรับไว้ในโรงพยาบาล จะรับฝากที่หอทั้งหมดและเก็บไว้หน่วยที่รับผิดชอบผู้ป่วยไม่มีญาติ

          Reply
        • 20 สิงหาคม 2020 at 15:54
          Permalink

          ผู้ป่วยในสามัญไม่ต้องเอาอะไรไปคะ เสื้อผ้าที่ติดค้างเราจะคืนญาติให้นำกลับบ้านและนำมาโรงพยาบาลอีกครั้งในรับจำหน่ายจากโรงพยาบาล ยกเว้นผู้ป่วยในชนิดผู้ป่วยพิเศษ(มีพิเศษหญิงพิเศษชาย)เพราะจำเป็นต้องมีญาติเฝ้าจึงต้องมีของใช้จำเป็นได้ตามที่ญาตจัดให้ผู้ป่วย

          Reply

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Page Reader Press Enter to Read Page Content Out Loud Press Enter to Pause or Restart Reading Page Content Out Loud Press Enter to Stop Reading Page Content Out Loud Screen Reader Support