การช่วยเหลือการเข้าถึงเว็บไซต์
Web Accessibility (การพัฒนาเว็บไซต์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้) หมายถึง กลุ่มคนทุกกลุ่มที่มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสภาพความเป็นอยู่ สภาพร่างกาย จิตใจ ผู้พิการหรือทุพลภาพ ผู้สูงอายุ จะต้องครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ให้สามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถรับรู้ เข้าใจ สั่งงาน หรือมีความต้องการใช้งานได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยการเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้น อาจจะใช้วิธีที่แตกต่างกันไป ตามวิธีการใช้งานของแต่ละกลุ่มผู้ใช้ เช่น ผู้พิการทางสายตา จะใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen Reader) หรือ โปรแกรมอ่านออกเสียงบนหน้าจอ (Voice Browser) โปรแกรมขยายหน้าจอ (Magnifier Program) เพื่อให้สามารถอ่านได้ชัดเจนง่ายขึ้น หรืออุปกรณ์พกพา สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั่ว ๆ ไป
เกี่ยวกับโปรแกรมอ่านออกเสียงบนหน้าจอ
โปรแกรมอ่านออกเสียงบนหน้าจอ JAWS for Windows (สำหรับ Windows เป็นโปรแกรมของต่างประเทศ) สามารถทดลองใช้ โดยดาวน์โหลดโปรแกรมนี้ได้ที่นี่ (ใช้ได้ 40 นาที) และเพื่อให้อ่านส่วนของภาษาไทยได้ จะต้องใช้โปรแกรมอ่านออกเสียงบนหน้าจอเป็นเสียงภาษาไทย (Thai text to Speech) ชื่อโปรแกรมตาทิพย์ (PPA Tatip)สามารถติดต่อได้ที่เว็บ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย โดยที่โปรแกรม PPA Tatip จะต้องติดตั้งโปรแกรม Microsoft text to speech version 5.1 สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่นี่ เพื่อทำการประสานการทำงานระหว่างโปรแกรม PPA Tatip กับ โปรแกรมอ่านจอภาพ ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Access Keys
Access key เป็นการกำหนดคีย์ลัดให้กับลิงก์ที่จะเข้าถึง นั้นหมายถึง ให้สามารถเข้าถึงเมนู หรือลิงก์ที่จำเป็นต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น โดยปกติแล้วกลุ่มผู้พิการทางสายตา จะใช้โปรแกรมอ่านออกเสียงบนหน้าจอ (Screen Reader) ในการเข้าถึงข้อมูล
คุณสามารถท่องเว็บไซต์ http://www.thaihealth.or.th โดย ใช้ Access keys ข้ามไปยังเนื้อหา ส่วนต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ ข้ามไปยังส่วนที่ต้องการเข้าถึง โดยไม่ต้องเลื่อนเมาส์ ใช้แป้นคีย์บอร์ดเป็นหลัก ได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวเลข สำหรับเมนูและเนื้อหาทั่วไปที่เข้าบ่อย ๆ และ ส่วนที่เป็นตัวอักษร a-z สำหรับเมนูหลักของเว็บไซต์
- เลข 2 คือ ไปยังตัวช่วยเหลือการเข้าถึงเว็บไซต์
- เลข 3 คือ ไปยังกล่องค้นหาในเว็บไซต์
- เลข 4 คือ ไปยังเนื้อหาหลัก
- เลข 5 คือ ไปยังเมนูหลัก
- เลข 6 คือ ไปยังด้านบนสุด
- เลข 7 คือ ไปยังแผนผังเว็บไซต์ Sitemap
- ตัวอักษร n คือ เมนูสาระสุขภาพ
- ตัวอักษร p คือ เมนูเพื่อนสร้างสุขภาวพ
- ตัวอักษร o คือ เมนูเกี่ยวกับเรา
การใช้ Access keys จากเบราว์เซอร์ต่าง ๆ
- เบราว์เซอร์ Internet Explorer 5 ขึ้นไป (PC) วิธีการใช้งาน กด ALT ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key จากนั้นปล่อย แล้วกด ENTER
- เบราว์เซอร์ Internet Explorer 5 ขึ้นไป (Mac) วิธีการใช้งาน กด CTRL ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key
- เบราว์เซอร์ Firefox, Mozilla (PC) วิธีการใช้งาน กด ALT+Shift ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key
- เบราว์เซอร์ Firefox, Mozilla (Mac) วิธีการใช้งาน กด CTRL ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key
- เบราว์เซอร์ Safari and Omniweb (Mac) วิธีการใช้งาน กด CTRL ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key
- เบราว์เซอร์ Opera วิธีการใช้งาน กด Shift ค้างไว้ แล้วกด ESC จากนั้นปล่อย แล้วกดตัวเลขของ Access key
- เบราว์เซอร์ Chrome (Mac) วิธีการใช้งาน กด CTRL+ALT ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key
- เบราว์เซอร์ Chrome (PC) วิธีการใช้งาน กด CTRL+ALT ค้างไว้ แล้วกด ตัวเลขของ Access key
การปรับขนาดตัวอักษรในเบราว์เซอร์
โดยทั่วไปแล้วเว็บเบราว์เซอร์จะมีการให้ปรับขนาดตัวอักษรบนหน้าเว็บด้วยการเลือกที่เมนูตัวเลือก หรือใช้แป้มพิมพ์ลัด
เบราเซอร์ | เมนูตัวเลือก | แป้มพิมพ์ลัดบน (Windows) | แป้มพิมพ์ลัดบน (Mac) |
---|---|---|---|
Internet Explorer | View > Text Size > เลือกขนาดตัวอักษรที่ต้องการ | ไม่มี | ไม่มี |
Firefox | View > Zoom > เลือกขนาดตัวอักษรที่ต้องการ | Control + (ขนาดใหญ่) Control – (ขนาดเล็ก) | Command ++ (ขนาดใหญ่ขึ้น) Command — (ขนาดเล็กลง) |
Opera | View > Zoom > เลือกขนาดตัวอักษรที่ต้องการ | + (ขนาดใหญ่) – (ปรับให้ขนาดเล็กลง) | Command + (ขนาดใหญ่ขึ้น) Command – (ขนาดเล็กลง) |
Safari | View > Zoom In, Zoom Out, Zoom Text Only | Control + (ขนาดใหญ่) Control – (ขนาดเล็ก) | Command + (ขนาดใหญ่ขึ้น) Command – (ขนาดเล็กลง) |
การใช้คีย์บอร์ดในการควบคุมการแสดงผลของมัลติมีเดีย วิดีโอ และ เสียง
- ไปยังตัว Player – กด O บนแป้นคีย์บอร์ด พร้อมทั้งกดลูกศรลง เพื่อทำการเล่นวิดีโอ
- Play/Pause – กด Spacebar 1 ครั้งเพื่อทำการเล่น กด Spacebar ซ้ำอีกครั้ง เมื่อต้องการหยุดเล่น
- เลือกเครื่องมือบนตัว Flash Player – กด Tab เพื่อเลือกเครื่องมือบนตัว Flash แล้วกด Enter เมื่อเลือกเครื่องมือนั้น เช่น เลือกปุ่ม play ปุ่มเปิดเสียง ปิดเสียง ขยายขนาดหน้าจอ
- ควบคุมเสียง – เมื่อเลือกอยู่ที่เครื่องมือลำโพง สามารถปรับเพิ่มหรือลดเสียงได้โดย กดลูกศรลงเพื่อเบาเสียง กดลูกศรขึ้นเพื่อเพิ่มเสียง
- แถบควบคุมเวลา – หากต้องการเลื่อนเวลาไปข้างหน้า ถอยหลังประมาณ 7-10 วินาที ให้ทำการกดลูกศรขวา ถ้าหากต้องการถอยหลัง ให้ทำการกดลูกศรซ้าย
กรณีดูวิดีโอและฟังเสียงไม่ได้
ระบบจะทำการเตือนให้ทราบว่า เครื่องของท่านไม่ได้ลงโปรแกรม Flash Player เพื่อให้สามารถดูวิดีโอหรือฟังเสียงได้นั้น ท่านจะต้องดาวน์โหลดโปรแกรมจากที่นี่
กรณีการแสดงผลไม่สวยงาม ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ระบบจะทำการเตือนให้ท่านทราบว่า เครื่องของท่านจะต้องเปิด Java Script เพื่อให้เว็บไซต์แสดงผลได้สมบูรณ์แบบ และใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นท่านจะต้องทำการเปิดการตั้งค่า Java Script ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้อธิบายไว้ที่นี่
การติดตั้งตัวอ่านบนเครื่อง Android
Android เป็นระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์พกพาต่าง ๆ ซึ่งสามารถตั้งค่าและติดตั้งแอพลิเคชั่น (Application) เพื่ออ่านข้อความบนหน้าเว็บได้ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การตั้งค่าอุปกรณ์
- 1. กดเมนู “ตั้งค่า” จะปรากฏหน้าจอดังภาพด้านล่างเป็นส่วนของการตั้งค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์
- 2. เลื่อนหน้าจอลงและกดรายการเมนู “ภาษาและการป้อนข้อมูล”
- 3. หลังจากเลือก “ภาษาและการป้อนข้อมูล” และเลือกที่ “เอาต์พุตการอ่านออกเสียง”
- 4. หลังจากเลือก “เอาต์พุตการอ่านออกเสียง” จะปรากฏหน้าจอดังภาพ ให้เลือก “เครื่องมืออ่านเสียงข้อ….” จะปรากฏดังหน้าต่อไป
- 5. เลือก “ติดตั้งข้อมูลเสียง” จะปรากฏดังหน้าต่อไป
- 6. หลังจากเลือก “ติดตั้งข้อมูลเสียง” แล้ว ให้เลือกที่ “ไทย (ไทย)”
- 7. หลังจากเลือกที่ “ไทย” จะพบชุดเสียงภาษาไทยภายในให้ติดตั้งให้เรียบร้อย จากนั้นกลับไปที่ Play สโตร์ เพื่อทำการดาวน์โหลดและติดตั้งแอพพลิเคชั่น (Application) Clipboard/Text to Speech
การติดตั้งแอพลิเคชั่น
- 1. กดที่ Play สโตร์ และค้นหาโปรแกรมชื่อ Clipboard/Text to Speech จากนั้นกด “ติดตั้ง”
- 2. กดปุ่ม “ยอมรับ”
- 3. แสดงการดาวน์โหลด Application
- 4. แสดงการติดตั้ง Application
- 5. แสดงหน้ากรณีติดตั้งเสร็จแล้ว ให้ออกจากหน้าจอนี้ไป
- 6. เปิดหน้าเว็บที่ต้องการอ่าน
- 7. คัดลอดข้อความที่ต้องการอ่าน
- 8. และนำมาวางใน Application
- 9. กดที่ “เฉพาะครั้งนี้” เพื่อใช้ Application Text to Speech ในการอ่านเฉพาะครั้งนี้ หรือ กดที่ “ทุกครั้ง” เพื่อให้ Application Text to Speech อ่านข้อความทุกครั้ง รอสักครู่ จะได้ยินเสียงอ่านข้อความ
การติดตั้งตัวอ่านบนเครื่อง iPhone, iPad
iPhone, iPad เป็นอุปกรณ์พกพาจากค่าย Apple ซึ่งสามารถตั้งค่าเพื่ออ่านข้อความบนหน้าเว็บได้ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การตั้งค่าอุปกรณ์
- 1. เข้าไปที่ Settings > General แล้วเลือกที่ Accessibility
- 2. เลือก Speak Selection
- 3. กำหนดค่า เป็น “No” และเลื่อนระดับความเร็วในการอ่าน โดยเลื่อนไปทางขวามือเพื่อเพิ่มความเร็ว หรือเลื่อนไปทางซ้ายมือเพื่อลดความเร็วในการอ่าน
- 4. เข้าเว็บไซต์และเลือกข้อความที่ต้องการอ่านออกเสียง และกดที่ “Speak” จะปรากฏเสียงอ่านข้อความที่เลือก
ขณะนี้อยู่ในช่วงพัฒนาส่วนของ Web Accessibility หากมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัย สอบถาม ส่งรายละเอียดมายังอีเมล