การรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

เมื่อแพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยอาการทางจิตรุนแรงไม่สามารถดูแลที่บ้านได้ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายทั้งต่อตนเอง ญาติ ชุมชน หรือทรัพย์สิน ผู้ป่วยจะได้รับรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
การบริการผู้ป่วยใน แบ่งตามระยะความรุนแรงของอาการ คือ ระยะAcute Phase และระยะ Sub Acute Phase โดยให้บริการดังนี้

ระยะAcute Phase
 เน้นการรักษาด้วยยาเป็นหลัก บางรายอาจใช้การรักษาด้วยไฟฟ้าร่วมด้วย ระยะเวลานอนเรือน     ๑๐ วัน ดังนี้

  • หอเฟื่องฟ้า ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชหญิง
  • หอพิรุณทอง และหอกรองจิต ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชชาย

ระยะ Sub Acute Phase

เน้นการรักษาด้วยยา ร่วมกับการบำบัดฟื้นฟูทางจิตสังคม ตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย/ครอบครัว โดยทีมสหวิชาชีพ กรณีที่มีความยุ่งยากซับซ้อนทางด้านครอบครัว/ชุมชน ต้องมีการเตรียมความพร้อมร่วมกับครอบครัว/ชุมชน ระยะเวลานอนเรือน ๒๐ วัน ดังนี้

  • หอทองอุไร ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชหญิง
  • หอพวงชมพู ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชชาย ที่มีภูมิลำเนา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และนอก

พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

  • หอชัยพฤกษ์  ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชชาย ที่มีภูมิลำเนาจังหวัดนครราชสีมา ยกเว้นอำเภอเมือง

และผู้ป่วยจิตเวชชายเด็กและวัยรุ่น

  • หอพุทธรักษา ให้บริการผู้ป่วยจิตเวชหญิงเด็กและวัยรุ่น, ผู้ป่วยหญิงโรคซึมเศร้าและโรคอารมณ์

สองขั้วที่มีภาวะซึมเศร้า,ผู้ป่วยจิตเวชหญิงสูงอายุ, ผู้ป่วยพิเศษจิตเวชหญิง (ที่ใช้สิทธิ์การรักษาเบิกต้นสังกัด)

          นอกจากนี้มีการนำระบบการดูแลแบบรายกรณี (Case management) มาใช้ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI-V)                              

การจำหน่ายผู้ป่วย

เมื่อผู้ป่วยอาการทางจิตทุเลา ได้รับการเตรียมความพร้อมในการกลับสู่ชุมชน สามารถกลับไปรับประทานยาต่อเนื่องที่บ้าน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ และต้องมีญาติมารับกลับ

กรณีญาติไม่พร้อมรับผู้ป่วยไปดูแล หรือชุมชนหวาดกลัว ไม่สามารถกลับไปอยู่ในชุมชนได้ ทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาล ประสานเครือข่าย เพื่อร่วมเตรียมความพร้อมของครอบครัวและชุมชน ในการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง

ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการนัดมารับยาต่อเนื่อง และให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก จนกว่าแพทย์จะพิจารณาส่งต่อไปรักษาโรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือสั่งหยุดการรักษา

การต่อแลต่อเนื่อง

       เมื่อจำหน่ายผู้ป่วยกลับสู่ชุมชน หอผู้ป่วยที่จำหน่ายจะส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยแก่เครือข่ายเพื่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยโปรแกรม SMI-V CAREทุกราย ยกเว้นผู้ป่วยที่ส่งสถานสงเคราะห์ หรือไม่มีเลข 13 หลัก