โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ให้บริการรักษาผู้ป่วยที่ใช้ยาเสพติดและมีอาการทางจิตเวช ทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ดังนี้
     1. ผู้ป่วยที่มาเองหรือญาตินำส่งหรือรับส่งต่อจากพื้นที่เครือข่ายสุขภาพ เรียกว่า ระบบสมัครใจ
     2. ผู้ป่วยที่ศาลส่งมาบำบัดรักษาและฟื้นฟูตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 เรียกว่าระบบต้องโทษ

ขั้นตอนการให้รับริการ
     1. ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิตจากการใช้ยาเสพติดระบบสมัครใจ มีดังนี้

                ผู้ป่วยที่มาเองหรือญาติ หรือ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน นำส่ง หรือ ก่อนที่เจ้าพนักงาน ปปส หรือ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจจะตรวจพบ (ตามมาตรา 113 )

               ผู้ป่วยที่เจ้าพนักงาน ปปส เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจตรวจพบ อยู่ระหว่างดำเนินคดีโทษจำคุก จากคำพิพากษาของศาล แต่สมัครใจเข้ารับการบำบัดรักษา (ตามมาตรา114)   
การบริการมี 2 รูปแบบ ดังนี้   

           1.1 แบบผู้ป่วยนอก มีการคัดกรองความเสี่ยงทางกายและสุขภาพจิต ประเมินความรุนแรงของการติดยาเสพติด การบำบัดรักษาทางกายที่อาจเกิดร่วมและบำบัดทางจิตสังคมตามสภาพปัญหาและอาการของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะได้รับการนัดมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะสั่งหยุดการรักษาหรือส่งต่อไปรับยาใกล้บ้าน ญาติควรมากับผู้ป่วยด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการบำบัดและรับทราบแนวทางการช่วยเหลือผู้ป่วยที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้การบำบัดมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มาก
           1.2 แบบผู้ป่วยใน เป็นการรับผู้ป่วยไว้บำบัดรักษาในโรงพยาบาลกรณีที่แพทย์พิจารณา ว่ามีความจำเป็นเนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาภาวะขาดสารเสพติด ภาวะทางร่างกายที่อาจเกิดร่วม และภาวะโรคจิตที่เกิดจากการใช้สารเสพติด ด้วยยาร่วมกับการบำบัดทางจิตสังคมแบบรายบุคคล และ รายกลุ่ม ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปอยู่ในชุมชนได้ โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการนัดเพื่อรับการรักษาอย่างต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอกหลังออกจากโรงพยาบาล จนกว่าแพทย์จะส่งต่อผู้ป่วยไปรับยาใกล้บ้านหรือสั่งหยุดการรักษา เมื่อบำบัดครบตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามดูแลต่อเนื่องหลังการบำบัดรักษาฟื้นฟูจนครบ 1 ปี และออกหนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
    2. ผู้ป่วยมีปัญหาสุขภาพจิตจากการใช้ยาเสพติดที่ศาลส่งมารับการรักษาบำบัดฟื้นฟู (ระบบต้องโทษ)

                  2.1 ผู้เข้ารับการบำบัดรักษาตามคำสั่งศาลระหว่างรอการพิจารณาของศาลเยาวชน เข้ารับการบำบัดรักษาตามเงื่อนไขของศาลเยาวชนและครอบครัวในระหว่างรอการลงโทษ

                2.2 ผู้ป่วยยาเสพติดระบบบำบัดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา56 เข้ารับการบำบัดรักษาตามเงื่อนไขคุมประพฤติ โดยศาลพิพากษาจากประมวลกฎหมายอาญา ภายใต้การดูแลของกรมคุมประพฤติ

                2.3 ผู้ป่วยยาเสพติดระบบบำบัดตามคำสั่งศาลมาตรา168 ศาลพิพากษาแต่ไม่ลงโทษ หากยินยอมเข้ารับการบำบัดรักษา หรือศาลพิพากษาลงโทษแต่ให้ใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัยในสถานพยาบาล มาตรา 166

                 โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาฯ เป็นศูนย์บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูฯ พ.ศ.2564 ให้บริการบำบัดรักษา ฟื้นฟูฯ แก่ผู้ติดยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชซึ่งได้รับการวินิจฉัยจากศาลให้เข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูฯในโรงพยาบาล ใช้หลักปฏิบัติเช่นเดียวกับการบำบัดแบบผู้ป่วยนอก(ระบบสมัครใจข้อ (1.1)
          2.2 ระบบต้องโทษ /รับไว้ เป็นการรับผู้ป่วยไว้บำบัดรักษาและฟื้นฟูฯ ในโรงพยาบาลจนกว่าจะครบระยะเวลาตามโปรแกรมการฟื้นฟูฯ แบบกลุ่ม และ/หรือรายบุคคล โดยผู้ป่วยที่ถูกส่งมาทั้ง 2 กรณี โรงพยาบาลจะมีการรายงานความก้าวหน้า/ผลการบำบัดฟื้นฟูฯแก่ศาล ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อประกอบการพิจารณาการฟื้นฟูฯ ต่อไป แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการฟื้นฟูฯ จนครบโปรแกรมฟื้นฟูฯ ของโรงพยาบาลแล้ว ถ้าแพทย์ยังคงนัดผู้ป่วยญาติควรนำผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปอยู่ในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

          นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆของศาล เช่น การรายงานตัวตามระยะเวลาให้ครบ ตามคำสั่งของศาล จึงจะถือว่าครบกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูฯ